• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
ตราสัญลักษณ์
       เทศบาลตำบลศรีสำโรง เทศบาลตำบลศรีสำโรงตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมตอนกลางของอำเภอ ศรีสำโรง ห่างจาก อำเภอเมืองสุโขทัยไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 6 ตาราง กิโลเมตร มีชื่อเดิมว่า “ สุขาภิบาลคลองตาล ” อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 90 เล่มที่ 72 ตอนที่ 74 ลงวันที่ 13 กันยายน 2498 และต่อมาได้มีประกาศเปลี่ยนแปลง เขตสุขาภิบาลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และให้เรียกชื่อใหม่ว่า “ สุขาภิบาลศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ” ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา หน้า 2551 เล่มที่ 75 ตอนที่ 72 ลงวันที่ 16 กันยายน 2501 ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 จึงได้เปลี่ยนแปลงฐานะของ สุขาภิบาลศรีสำโรงเป็นชื่อใหม่ว่า “ เทศบาลตำบลศรีสำโรง ” ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ตามประกาศ ในราชกิจกานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก หน้า 1 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อให้ท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลที่มีโครงสร้าง ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบกับการปกครองส่วน ท้องถิ่น รูปแบบปัจจุบันมีความไม่เหมาะสมที่จะรองรับการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควร เปลี่ยนแปลง ฐานะของสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเทศบาลตำบล และยกเลิกการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลจนถึง ปัจจุบัน

อาณาเขต
ทิศเหนือ หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม ตรงปลายสะพานวัดคลองโป่ง
ด้านตะวันตกเฉียงใต้ จากหลักเขตที่ 1 เลียบตามด้านใต้ของสะพานวัดคลองโป่ง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงฟากตะวันออก ของถนน จรถวิถีถ่องตรงหลัก กม.ที่ 16.900 ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2จรดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน
ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงฝั่งใต้ของแม่น้ำเก่าตรงมุมเขตวัดหนองรั้งเหนือ
ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3 จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงฟากใต้ของทางไปวัดคลองตรั่งตรงที่อยู่ห่างจาก วัดคลองตรั่ง ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 400 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4 จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงฟากตะวันออกของถนนจรดวิถีถ่องตรงหลัก กม.ที่ 20.430 ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5 จรดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก
ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตั้งฉากกับถนนจรดวิถีถ่องไปทางทิศตะวันตกถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 6 จรดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาเลี้ยง
ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 6 เลียบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมไปทางทิศเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1จรดกับองค์การบริหารส่วนตำบลวัดเกาะและแม่น้ำยม
       เทศบาลตำบลศรีสำโรง เดิมตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมตอนกลางของอำเภอศรีสำโรง ปัจจุบันได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ เลขที่ 80 หมู่ที่ 3 ตำบลสามเรือน ถนนศรีสำโรง – ศรีนคร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ห่างจากอำเภอเมืองสุโขทัยไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 6 ตารางกิโลเมตร มีชื่อเดิมว่า “สุขาภิบาลคลองตาล” อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 90 เล่มที่ 72 ตอนที่ 74 ลงวันที่ 13 กันยายน 2498 และต่อมาได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และให้เรียกชื่อใหม่ว่า“สุขาภิบาลศรีสำโรงจังหวัดสุโขทัย” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา หน้า 2551 เล่มที่ 75 ตอนที่ 72 ลงวันที่ 16 กันยายน 2501 ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 จึงได้เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลศรีสำโรงเป็นชื่อใหม่ว่า“เทศบาลตำบลศรีสำโรง” ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก หน้า 1 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อให้ท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลที่มีโครงสร้างไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบกับการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบปัจจุบันมีความไม่เหมาะสมที่จะรองรับการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควรเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเทศบาลตำบล และยกเลิกการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลจนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์
“สังคมคุณภาพ ส่งเสริมวัฒนธรรม
ร่วมสร้างเศรษฐกิจให้ทันสมัย สู่มิติใหม่ของเทศบาล”
พันธกิจ
1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. การพัฒนาเศรษฐกิจ
4. การพัฒนาด้านสังคม
5. การพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร
6. การพัฒนาด้านการพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น